การติดตั้งป้ายทางออกฉุกเฉินภายในอาคาร

การติดตั้งป้ายทางออกฉุกเฉินภายในอาคาร


     การติดตั้งโคมไฟฟ้าป้ายบอกทางออกฉุกเฉินชนิดส่องสว่างจากภายในสำหรับอาคาร มาตรฐาน มอก.2539-2554
ความหมายของคำว่าที่ใช้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้ ให้เป็นไปตามบทนิยามของ มอก.2430 ต่อไปนี้

1.ป้ายทางออกฉุกเฉินด้านบน  หมายถึง ป้ายทางออกฉุกเฉิน ที่ติดตั้งที่เพดานหรือผนังในตำแหน่งด้านบน ที่สามารถมองเห็นได้จากระดับกำลังเดิน  โดยไม่กีดขวางทางเดิน

2.ป้ายทางออกฉุกเฉินด้านล่าง หมายถึง ป้ายทางออกฉุกเฉิน ที่ติดตั้งที่ผนังในตำแหน่งด้านล่าง ที่สามารถมองเห็นได้จากระดับกำลังคลาน

3.ป้ายทองออกฉุกเฉินฝังพี้น  หมายถึง ป้ายทางออกฉุกเฉิน ที่ติดตั้งฝังพื้น ที่สามารถมองเห็นได้จากระดับกำลังคลาน

ป้ายไฟฉุกเฉิน

     ตำแหน่งในการติดตั้งป้ายฉุกเฉิน  โคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉินให้ติดตั้งด้านบนของประตูทางออกฉุกเฉินทุกประตูและตลอดแนวเส้นทางการหนีภัยเพื่อให้สังเกตเห็นได้ง่าย  ในกรณีที่คาดว่าควันทำให้มองเห็นโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉินไม่ชัดเจน  อาจเพิ่มป้ายทางออฉุกเฉินติดตั้งที่่ด้านล่างหรือฝังพื้นเพิ่ม  โดยให้ป้ายสูงจากพื้น 2 เมตร ถึง 2.7 เมตร  ส่วนป้ายด้านล่างให้สูงจากพื้น 15 เซนติเมตร

     การตรวจสอบระบบป้ายฉุกเฉิน  จำเป็นที่จะต้องตรวจสอบระบบทุกๆ 3 เดือน ทุกๆรายปี เพื่อให้ระบบทำงานได้ปรกติเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินตามระยะเวลาที่กำหนดดังนี้


     การตรวจสอบราย 3 เดือน
ต้องทำทุก 3 เดือน  เมื่อทำการปิดระบบจ่ายไฟฟ้าปรกติ  ป้ายโคมไฟทางออกฉุกเฉินจะต้องสว่างไม่น้อยกว่า 30 นาที

     การตรวจสอบรายปี
ต้องทำทุก 1 ปี เมื่อทำการปิดระบบจ่ายไฟฟ้าปรกติ  ป้ายโคมไฟทางออกฉุกเฉินจะต้องสว่างไม่น้อยกว่า 60 นาที

     ป้ายฉุกเฉินมีความจำเป็นสำหรับผู้พักอาศัยในอาคาร  หรือโรงแรมต่างๆ เมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันเกิดขึ้น ป้ายบอกทางออกฉุกเฉินจึงมีความสำคัญมาก  เพื่อให้ผู้อาศัยอยู่ภายในอาคารนั้นหนีออกจากที่เกิดเหตุได้เร็วที่สุด  เพื่อการเอาชีวิตรอดจากเหตุเพลิงไหม้  เมื่อเกิดเหตุต่างคนก็ต่างวิ่งเพื่อหาทางออก  และข้อสำคัญอีกอย่างหนึ่งไม่ควรใช้ลิฟท์เด็ดขาด   เพราะจะทำให้ติดอยู่ในลิฟท์ในกรณีเกิดไฟดับ